การบริหารจัดการน้ำ และการบูรณาการ…ในยุคที่อะไร ๆ ก็ SMART

มาตรฐาน

Smart farmer Smart Office Smart service…

ชื่อต่าง ๆ ที่กล่าวมาด้านบนคือชื่อของโครงการและนโยบายของประเทศไทยที่พยายามใช้ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบอิเล็คทรอนิคส์มากขึ้น บริหารจัดการโดยเทคโนโลยี สารสนเทศกันมากขึ้น ซึ่งเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ก็มีการดำเนินโครงการและนโยบายแบบนี้ ที่ผ่านมาวิธีการต่าง ๆ พัฒนา เปลี่ยนแปลง ลองผิดลองถูกกันมาโดยตลอด การที่ผู้เขียนได้เรียนรู้จากหลักสูตรการบริหารจัดการน้ำ และจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เข้าใจดีว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาบริหารจัดการน้ำ ติดขัดตรงไหนบ้าง หากจะกล่าวถึงปัญหาและอุปสรรคในมุมมองกว้าง ๆ ที่เคยมีคนได้ วิเคราะห์ไว้ ยกตัวอย่างเช่น

  • ปัญหาการขาดเครื่องมือที่เป็นระบบ ที่สามารถบริหารจัดการน้ำได้ อย่างเร่งด่วน
  • ปัญหาการแบ่งอำนาจการสั่งการ แต่การจัดทำข้อมูลไม่สอดคล้องกัน ปัญหาการใช้ข้อมูลได้อย่างทันท่วงที
  • ปัญหา ความต่อเนื่องการใช้ข้อมูลโดยพยากรณ์ตั้งแต่ สภาพภูมิอากาศ ต้นน้ำ และการจำลองสถาณการณ์ เพื่อวางแผนการป้องกันได้อย่างทันท่วงที
  • ปัญหาการบริหารจัดการเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และรวดเร็ว
  • ปัญหาประสิทธิภาพการนำเข้าข้อมูลโทรมาตรต่าง ๆ ต่ำ และไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งส่งผลต่อเนื่อง ให้จัดการข้อมูลและประมวลผลได้ไม่มีประสิทธิภาพ

มีความเห็นตรงกันจากหลายส่วนว่า การดำเนินการต่าง ๆ ถูกนำมาใช้เพื่อลดปัญหาดังกล่าวแต่ก็ยัง ทำได้ไม่ดีนัก ถูกจุดบ้างไม่ถูกจุดบ้าง การดำเนินการ /เสนอข้อคิดเห็น /ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดปัญหา ต่าง ๆ ได้ทำไว้มากมายมากมาย เช่น การสร้าง model ต่าง ๆ ด้านอุทกศาสตร์ให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และเน้นข้อมูล output ให้อยู่บนพื้นฐานด้านภูมิศาสตร์ ,การมีโครงการระบบพยากรณ์ต่าง ๆ มากมายในแต่ละลุ่มน้ำ แต่ก็ยังบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพไม่ดีพอ

อย่างไรก็ตามเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอาจไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่มีส่วน ที่ทำให้ประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำไม่ดี แต่แนวคิดในเชิงยุทธศาสตร์ของหน่วยงานด้านการบริหารจัดการน้ำยังเห็นร่วมกันว่า “ควรมีเครื่องมือการบริหารจัดการน้ำในแบบ Water Management Center”เช่นสาธารณรัฐเกาหลีที่ผู้เขียนได้เดินทางไปดูงานในหลักสูตรอบรมบริหารจัดการน้ำในครั้งนี้ด้วยแต่การที่จะทำโครงการนี้ให้สำเร็จได้ทำอย่างไร…

อ่านต่อ